การใช้ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ตตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 867 กิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่รวมประมาณ 576 ตารางกิโลเมตร

ภายในจังหวัดภูเก็ต แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง แบ่งออกเป็น 13 ตำบล และ 96 หมู่บ้าน

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 องค์ เทศบาล 12 องค์ และองค์การบริหารส่วนตำบล 6 องค์

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ลิงค์ด้านล่าง;

http://www.landusephuket.com/

นโยบายและกฎหมายการใช้ที่ดินจังหวัดภูเก็ต

นโยบายและกฎหมายการใช้ที่ดินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสีของผังเมือง สามารถสร้างได้กี่ชั้น หรือจะซื้อที่ดินโดยรอบได้หรือไม่

ตัวอย่างเช่น,

ประกาศสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2560) – กฎเกณฑ์การก่อสร้างสูงสุด

พื้นที่สีแดง บริเวณที่ 1 : พื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ตเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 50 เมตร และ 20 เมตรแรกสร้างไม่ได้ 21-50 เมตร สร้างสูงได้ 6 เมตร
พื้นที่สีเหลือง บริเวณที่ 2 : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 1 เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 150 เมตร และสร้างได้สูงสุด 12 เมตร
พื้นที่สีน้ำเงิน บริเวณที่ 3 : พื้นที่ที่วัดจากแนวเขตบริเวณที่ 2 เข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 200 เมตร และสร้างได้สูงสุด 16 เมตร
พื้นที่สีชมพู บริเวณที่ 4 : พื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต และสร้างได้สูงสุด 45 เมตร
พื้นที่สีเขียว บริเวณที่ 5 : พื้นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม และสร้างได้สูง 6 เมตร เพิ่มได้อีก 6 เมตร (ขอมติ)
พื้นที่สีน้ำตาล บริเวณที่ 6 : พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 40 – 80 เมตร และสร้างได้สูง 8 เมตร
พื้นที่สีเขียวเข้ม บริเวณที่ 7: พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 80 เมตร ขึ้นไป สูงเกิน 80 เมตร จากระดับน้ำทะเลไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้าง
พื้นที่สีส้ม บริเวณที่ 8 : พื้นที่ในเกาะภูเก็ตและเกาะต่าง ๆ นอกจากบริเวณที่ 1 ถึง บริเวณที่ 7 สร้างได้สูง 23 เมตร
พื้นที่สีฟ้า บริเวณที่ 9: พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้าง

กฎหมายผังเมือง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2558)

สีเหลือง บริเวณที่ 1 : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
สีส้ม บริเวณที่ 2 : ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
สีแดง บริเวณที่ 3 : ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
สีม่วง บริเวณที่ 4 : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
สีชมพู บริเวณที่ 5 : ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ
สีเขียวเข้ม บริเวณที่ 6 : ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
สีเขียวอ่อน บริเวณที่ 7 : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สีเขียวรอยประ บริเวณที่ 8 : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
สีเขียวขี้ม้า บริเวณที่ 9 : ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
สีฟ้า บริเวณที่ 10 : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพการท่องเที่ยวและการประมง
สีฟ้ารอยประขาว บริเวณที่ 11 : ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
สีฟ้ารอยประน้ำตาล บริเวณที่ 12 : ที่ดินประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
สีส้ม บริเวณที่ 13 : ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
สีเทา บริเวณที่ 14 : ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา
สีน้ำเงินบริเวณที่ 15 : ที่ดินประเภทสถาบันราชการ
สีชมพู บริเวณที่ 16 : ที่ดินประเภทโครงการคมนาคมและขนส่ง

ความลาดชันของพื้นที่ (อัตราร้อยละ)

สีส้ม บริเวณที่ 1 : พื้นที่ที่มีความชันระหว่างอัตราร้อยละ 20ถึง 35 เมตร
สีแดง บริเวณที่ 2 : พื้นที่ที่มีความชันมากกว่าอัตราร้อยละ 35 เมตร

Compare listings

เปรียบเทียบ